นวัตกรรมการเรียนการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมการเรียนการสอน


นวัตกรรมการเรียนการสอน
                   ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ   และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู –อาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ  นั้น  คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง
 ความหมาย
             คำจำกัดความของคำว่า   นวัตกรรมทางการศึกษา   จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่   หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม    โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย
สอน หมายถึง
การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:โมเดลซิปปา
                       ในปัจจุบันแนวการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทั้งในประเทศและในต่างประเทศ แนวความคิดในการจัดการศึกษานี้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยการกระทำ(Learning by Doing)ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมที่หลากหลาย  มีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของผู้เรียน
โมเดลซิปปา(CIPPA MODEL) เป็นการเรียนการสอนที่เป็นแนวคิดหลักที่เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางซิปปานี้พัฒนาขึ้นโดย  รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา  แขมมณี อาจารย์ประจำภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักการศึกษาผู้มีประสบการณ์สอนและการนิเทศการสอน ได้กล่าวว่า  แนวคิดในการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาไทยมีมานานแล้ว แต่ยังไม่เกิดผลในการปฏิบัติที่เป็นน่าพอใจ ครูจำนวนมาก ขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดแนวทางที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยเหตุผลนี้  ทิศนา  แขมมณี จึงได้เสนอแนวคิดและแนวทางในการนำไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการให้ผู้เรียนเป็นจุดสนใจ (Center of attention) หรือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นมาก ผู้เรียนก็จะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้มาก และควรจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นตามมา แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ผู้เรียนมีส่วนเรียนร่วมอย่างผูกพัน ทิศนา  แขมมณี (2543) ได้เสนอไว้ดังนี้
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียน ได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย คือ กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยให้ประสาทรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
  แนวคิด                 การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
ความหมาย          การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง
วัตถุประสงค์        การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. 
มีประสบการณ์โดยตรง
2. 
ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. 
รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน
4. 
ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. 
ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. 
ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. 
ฝึกวิเคราะห์  และประเมินตนเอง
 ประเภทของโครงงาน
1. 
โครงงานแบบสำรวจ
2. 
โครงงานแบบทดลอง
3. 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์
4. 
โครงงานทฤษฎี
รูปแบบการจัดทำโครงงาน
1. 
ชื่อโครงงาน
2. 
คณะทำงาน
3. 
ที่ปรึกษา
4. 
แนวคิด / ที่มา / ความสำคัญ
5. 
วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย
6. 
ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา
7. 
แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี)
8. วัสดุ  อุปกรณ์
9. 
งบประมาณ
10. 
ระยะเวลาการดำเนินงาน
11. 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 ขั้นตอนในการสอนทำโครงงาน      การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมี  4  ขั้นตอน คือ
1. 
กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง
2. 
วางแผนหรือวางโครงงาน  นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร  ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด  จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. 
ขั้นดำเนินการ  ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา
4. 
ประเมินผล  โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่  มีข้อบกพร่อง  และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร
 วิธีการทำโครงงาน
1. 
ประชุมปรึกษาหารือ  เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน  จากสิ่งต่อไปนี้
การสังเกต หรือตามที่สงสัย
ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
จากปัญหาใกล้ตัว  หรือการเล่น
คำบอกเล่าของผู้ใหญ่  หรือผู้รู้
2. 
เขียนหลักการ  เหตุผล  ที่มาของโครงงาน
3. 
ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
4. 
กำหนดวิธีการศึกษา เช่น  การสำรวจ  การทดลอง  เป็นต้น
5. 
นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
6. 
สรุปผลการศึกษา   โดยการอภิปรายกลุ่ม
7. 
ปรับปรุงชื่อโครงงาน  ให้ครอบคลุม  น่าสนใจ
การประเมินผลการทำโครงงาน        ครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม  โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้
1. 
ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. 
ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3. 
สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. 
วิธีการ  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5. 
แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. 
วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา
การสอนให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง (Student Centered Learning)
โดยคำนิยามที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นการเรียนการสอนตามความต้องการของนักศึกษา ซึ่งแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกัน จึงอาจเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องเรียนขนาดใหญ่ การวิจัยพบว่าการสอนวิธีนี้ทำให้นักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่เขาต้องการเรียน เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของเขา  ทำให้มีแรงจูงใจให้เรียนรู้ โดยครูเป็นผู้ประสานความรู้เพื่อให้นักเรียนไปถึงจุดหมาย
ครูจะต้องมองว่า เราสอนใคร  เพื่อให้เขาทำอะไร  และ  จะสอนอย่างไร หากรู้พื้นฐานนักเรียน (สอนใคร)  ก็จะสามารถจัดกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานเขาได้ และการสอนต้องให้เขาตระหนักในประโยชน์ (เพื่ออะไรจากนั้นจึงดำเนินการสอน (อย่างไรให้สอดคล้องและได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งวิธีการสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง    น่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง
วิธีการเสนอแนะในการสอนแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง
1.    อาจารย์แจกเค้าโครงรายวิชาให้นักศึกษา โดยอาจารย์ไม่สอน แต่แนะแนวทางให้นักศึกษาคิดและ    แก้ปัญหา  นักศึกษาจะต้องอ่านหนังสือมาก่อน  นักศึกษาเป็นผู้ออกแบบเนื้อหา กำหนดเนื้อหาเอง  ซึ่งการวัดผล จะต้องใช้  ข้อสอบที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร
2.    การเรียนแบบโครงงาน  โดยในวิชานั้นนักศึกษาจะต้องทำโครงงานย่อย 4 โครงการ  ใช้เวลาโครงการละ 2สัปดาห์ นักศึกษาจะต้องตั้งปัญหาในแต่ละโครงการแล้วเชื่อมต่อโครงการกับทฤษฎีที่อาจารย์เสนอแนะไว้ แต่ก่อนปิดรายวิชาอาจารย์ต้องสรุปและเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของรายวิชา
 ประเด็นเสนอแนะปลีกย่อย
1.       ครูต้องเก่งมากจึงจะเป็นผู้ประสานวิชาการอันหลากหลายได้
2.       น่าจะปฏิรูปมหาวิทยาลัยให้เป็น Student Centered Service เสียด้วย คือให้นักศึกษาบริการตนเองในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะฝึกให้นักศึกษารู้จักรับผิดชอบมากขึ้น
3.       วิธีนี้สามารถทำได้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา  แต่หากเป็นระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยจะต้องควบคุมขนาดชั้นเรียน และกำหนดทิศทางในการจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจน 
4.       ความยากคือการตรวจงาน การประเมิน วิธีที่น่าทดลองคือ ให้เด็กตรวจงานกันเอง 
5.       น่าจะมีชั้นเรียนทดลองวิธีนี้ อาจารย์ท่านใดต้องการทดลองโปรดแจ้งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
6.       อาจทดลองให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาวิชาสัก 10 - 20 %
7.       พอทำได้ในชั้นปีที่ 3 – 4 เนื่องจากนักศึกษามีความรู้พื้นฐานที่จะบูรณาการได้แล้ว ส่วนในชั้นปีที่ 1 – 2 นั้น อาจทำไม่ได้
8.       สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ รศ.ดร.ทวิช  ทดลองใช้วิธีแบ่งกลุ่มทำการบ้านและตรวจการบ้านกันเองโดยการสลับกลุ่ม โดยเฉลยให้เฉพาะหลักการ นับว่าเป็นการเรียนแบบนเป็นศูนย์กลางในระดับหนึ่งและอีกรูปแบบหนึ่ง

1.วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture)
ความหมาย        
          วิธีสอนโดยใช้การบรรยายคือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการพูด บอก เล่า อธิบาย สิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถาม แล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
วัตถุประสงค์     
            เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือข้อความรู้จำนวนมากพร้อมๆ กันได้ในเวลาที่จำกัด
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
              1. ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรยาย
              2.
ผู้สอนบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย ) เนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
              3.
ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
 
2.วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration)
1. แนวคิด
เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์ตรงมากที่สุด ซึ่งเป็นการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ดูหรือผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำด้วยตนเอง ทำให้การเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และตรงกับแนวคิดของกรวยประสบการณ์ที่ เอดก้า เดล ได้กล่าวไว้ดังนี้
2.
ลักษณะสำคัญ
วิธีสอนแบบสาธิตเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรู้ ประสบการณ์ แนวทาง เช่น การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ให้การเรียนรู้ค่อนข้างสมบูรณ์
3.
วัตถุประสงค์
1.
ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส
2.
มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น
3.
ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ และสามารถสรุปผลได้
4.
เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น ๆ ด้วยได้

4.
จำนวนผู้เรียน

การสาธิตเป็นการแสดงให้ดู การลองทำหรือผู้เรียนได้มีโอกาสปฏิบัติ ดังนั้นการจัดกลุ่มผู้เรียนต้องไม่มากเกินไป เช่น 5-7 คน หรือน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มผู้เรียนจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย วิธีการสาธิต สถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสาธิต

5.
ระยะเวลา
ระยะเวลาของการสาธิตขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการจัดเนื้อหา เรื่องราวที่จะสาธิตเป็นสำคัญหากมีขั้นตอนและเนื้อหามาก การสาธิตก็ต้องใช้เวลานาน หรืออยู่ที่วิธีการสาธิต บางอย่างผลของการสาธิตต้องอาศัยเวลานานจึงจะเห็นผลที่เกิดขึ้น แต่กิจกรรมสาธิตบางเรื่องสามารถเน้นผลได้ในทันที

6.
ลักษณะห้องเรียน
การสอนแบบสาธิต อาจจะแบ่งลักษณะของห้องเรียนหรือสถานที่ได้ 3 รูปแบบ คือ
6.1
การสาธิตในห้องทดลอง กระบวนการสาธิตในลักษณะนี้จะต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องทดลอง เช่น การสาธิตเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ การผสมสารเคมี ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อนและขั้นตอน ผู้สาธิตต้องรู้และเข้าใจกระบวนการสาธิตเป็นอย่างดี เพราะรูปแบบการสาธิตวิธีนี้บางครั้ง หากทำผิดพลาดอาจจะเกิดเรื่องเสียหายได้
6.2
การสาธิตในห้องเรียน รูปแบบการสาธิตวิธีนี้อาจจะเป็นการสาธิตเรื่องราวต่าง ๆ ของบทเรียนที่มี ไม่จำเป็นต้องทำในห้องทดลอง และบางครั้งก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย เช่น การสาธิต วิธีการ การสาธิตท่ายืน เดิน นั่ง การสาธิตท่ากราบไหว้ที่ถูกต้อง เป็นต้น
6.3
การสาธิตนอกห้องเรียน การสาธิตรูปแบบนี้อาจจะต้องใช้สถานที่นอกห้องเรียน เช่น สนามกีฬา หรือในแปลงสาธิตทางการเกษตร เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยสถานที่ หรือบริเวณกว้างขวางกว่าห้องเรียน

7.
ลักษณะเนื้อหา
รูปแบบการสอนแบบสาธิตสามารถใช้ได้กับเนื้อหาในทุกวิชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน และผู้สอนวิเคราะห์แล้ว การใช้กิจกรรมการสาธิตจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เช่น การทดลองวิทยาศาสตร์ การสาธิตวิธีการประกอบอาหาร หรือการสาธิตการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายในท่าที่ถูกต้อง ฯลฯ จะสังเกตได้ว่าเป้าหมายของการสอนแบบสาธิตคือ ต้องการให้ผู้เรียนได้เน้นกระบวนการของเรื่องหนึ่งเรื่องใด เพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำไปปฏิบัติได้

8.
บทบาทผู้สอน
วิธีสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของผู้สอนมากกว่าผู้เรียน ทั้งนี้การสอนแบบสาธิตจะมีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโดยต้องการทำให้ดู และการบอกให้เข้าใจ บางครั้งเรื่องที่สาธิตนั้นอาจจะมีขั้นตอนหรือต้องอาศัยความชำนาญการในการทำ หรือบางครั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตนั้นมีราคาแพง หรือแตกหักชำรุดง่าย ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้ทำเสียเอง อย่างไรก็ตามการสาธิตที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมด้วย โดยเฉพาะหากการเรียนการสอนเน้นอยู่ที่ตัวผู้เรียน ผู้เรียนต้องมีโอกาสได้สาธิตด้วยตนเองให้มากที่สุดเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง

9.
บทบาทผู้เรียน 
วิธีสอนแบบสาธิตโดยทั่วๆ ไป ผู้เรียนจะมีบทบาทน้อยเป็นเพียงผู้ดูและผู้ฟัง อาจจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย เท่านั้น แต่การสาธิตที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ยิ่งถ้ามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงด้วยคือ มีโอกาสได้ปฏิบัติภายหลังการสาธิตด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

10.
ขั้นตอนการสอน
ก่อนการสาธิต มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
1.
การกำหนดวัตถุประสงค์ ของการสาธิตให้ชัดเจนว่าการสาธิตนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไรการสาธิตบางอย่างเป็นการสาธิตกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน เช่น การสาธิต ขั้นตอนการยิงลูกโทษ การสาธิตการเตะตะกร้อ และการสาธิตบางเรื่องต้องการสาธิตให้เกิดผลตามที่ต้องการ เช่น การสาธิตในห้องทดลอง
2.
การเตรียมการ ผู้สอนต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการสาธิต เตรียมขั้นตอนการสาธิตซึ่งวิธีการเตรียมที่ถูกต้องคือ ต้องลองสาธิตดูก่อน เป็นการตรวจสอบว่าขั้นตอนเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นก็มีโอกาสแก้ไขได้ก่อน
ขณะทำการสาธิต
ผู้สอนควรอธิบายหรือบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจเสียก่อน โดยเฉพาะควรจะบอกวัตถุประสงค์ของการสาธิตให้ผู้เรียนได้ทราบ หลังจากนั้นจึงนำเข้าสู่การสาธิต โดยการอธิบายให้ฟังหรือใช้สื่อต่าง ๆ อาจจะเป็นสไลด์ประกอบคำบรรยายหรือวีดิทัศน์ หรือวิธีการที่ผู้สอนทั่วไปใช้คือ การให้ผู้เรียนได้ศึกษามาก่อน โดยให้ไปอ่านเอกสาร หนังสือ หรือค้นคว้าเรื่องราวที่สาธิตนั้นก่อน ก็จะทำให้การสาธิตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและผู้เรียนเข้าใจได้ชัดเจน
ในขณะสาธิตผู้เรียนสาธิตต้องดำเนินการสาธิตไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ อาจจะสลับด้วยการบรรยายแล้วสาธิต วิธีที่จะทำให้บรรยากาศการสาธิตเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสาธิตตลอดเวลา อาจจะเป็นการถามนำ กระตุ้น หรือให้ผู้เรียนช่วยสาธิตเรื่องราวบางเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนหรือมีขั้นตอนยุ่งยาก ผู้สาธิตก็ต้องสาธิตหลาย ๆ ครั้ง หรือให้ผู้เรียนทำตามไปด้วยเป็นขั้น ๆ ผู้สอนจะต้องชี้แนะหรือเน้นย้ำในส่วนที่สำคัญตลอดเวลา ดังนั้นการวางแผนสาธิตจำเป็นต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี
ภายหลังการสาธิต
เมื่อการสาธิตจบลงแล้ว การย้ำเน้นเรื่องราวที่สาธิตไม่ว่าจะเป็นการสาธิตกระบวนการหรือสาธิตผู้สอนก็ต้องให้มีการสรุป ทั้งนี้ผู้ดูหรือผู้เรียนเป็นผู้สรุปเอง โดยมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน หรือบางครั้งการจัดอาจจะจบลงด้วยการสรุปโดยวีดิทัศน์ หรือสไลด์ประกอบเสียง โดยการสอบถาม แจกแบบสอบถาม แบบทดสอบ ทั้งนี้อยู่ที่ระยะเวลาที่เหลือ

11.
สื่อการสอนแบบสาธิต
การสอนแบบสาธิตก็เช่นเดียวกับวิธีการสอนแบบอื่น ๆ ที่สามารถนำสื่อในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่การสาธิตนั้นหากเป็นการสาธิตที่ไม่ใช้วัสดุ อุปกรณ์ใด ๆ ตัวผู้สอนจะเป็นสื่อที่สำคัญ ดังนั้นผลของการสาธิตจะบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่จึงขึ้นอยู่กับผู้สอน แต่แนวทางที่จะให้การสอนแบบสาธิตเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การออกแบบการสอนแบบสาธิตซึ่งต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น จึงต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทตั้งแต่ก่อนการสาธิตจนกระทั่งหลังการสาธิต

12.
การวัดและประเมินผล
การสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่ผู้สอนหรือผู้สาธิตจะมีบทบาทในการประเมิน อาจจะโดยการสังเกต วิเคราะห์คำตอบว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่เพียงใด แต่การประเมินที่ดีคือการให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม

13.
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1)
ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
2)
ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน
3)
ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
4)
ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
5)
ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
ข้อจำกัด
1)
หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง
2)
ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี 
3)
ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลย ผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย
4)
บางครั้งการสาธิตที่เยิ่นเย้อก็ทำให้เสียเวลา

14.
การปรับใช้การสอนสาธิตโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ขั้นเตรียมการสาธิต
ผู้สอนต้องเตรียมการให้ดี ไม่ว่าการเตรียมเนื้อหา บทบาทการสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นของผู้สอนแต่เนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายในส่วนใดที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ทัศนคติ บทบาทในส่วนนั้นจะเน้นที่ผู้เรียนมากกว่าผู้สอน การเตรียมกระบวนการ เตรียมสื่อที่จะสาธิต และเตรียมกิจกรรมที่จะสาธิตต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เมื่อสาธิตจบแล้วควรมีการวางแผนว่าจะทำกิจกรรมอะไรต่อไปโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด
ขั้นการสาธิต
ผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารสองทาง คือ มีทั้งผู้สาธิตเป็นคนทำ แต่ในบางครั้งก็ให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยสาธิต อธิบายหรือตอบคำถาม ผู้สาธิตควรใช้สื่ออื่น ๆ ที่เร้าความสนใจได้มากกว่าคำพูดประกอบ เช่น ของจริง ของตัวอย่าง แผ่นโปร่งใส สไลด์ หรือภาพฉาย ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวบนจอ ในขณะสาธิตจะต้องเน้น ต้องย้ำ การที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนอง (Feedback) ตลอดเวลา เช่น การซักถาม การอธิบายเสริม การได้มีกิจกรรมเสริมอื่น ๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ สถานการณ์จำลอง การเล่นเกม ผู้สาธิตพยายามให้ผู้ดูมีส่วนร่วมมากที่สุด ที่สำคัญผู้สาธิตต้องมีความสามารถที่จะต้องจูงใจให้ผู้เรียนติดตามตลอดเวลา การจูงใจทำได้หลายวิธี เช่น การถามตอบ การให้เพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน เป็นต้น
ภายหลังการสาธิต
ผู้เรียนควรมีโอกาสทำกิจกรรมเสริมอื่น ๆ ที่จะช่วยเน้นย้ำ เรื่องราวที่ได้เห็นการสาธิตมาเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องที่เรียนและจำได้นาน ส่วนการประเมินการสาธิตถ้ามีโอกาสก็ควรให้ผู้เรียนได้รู้ว่ามีความเข้าใจหรือรู้เรื่องที่ได้เห็นการสาธิตมาเพียงใด ซึ่งการวัดและประเมินในส่วนนี้ถ้าทำได้ทุกครั้งก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่มีเวลาอาจจะไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง แต่ในส่วนของผู้สอนนั้นอาจจะประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสนใจ หรือเอาใจใส่เพียงใด การประเมินจะเป็นวิธีการพัฒนาการสาธิตของผู้สอนได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่    
 - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  
 มัลติมีเดีย (Multimedia)
 - การประชุมทางไกล (Teleconference)
 - ชุดการสอน (Instructional Module)
-วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video) 
 และดิฉันก็เชื่อว่าสถานที่การศึกษาหลายๆ  ที่นั้นได้นำนวัตกรรมที่ว่านี้มาใช้กันแล้ว  อย่างเช่นที่โดรงเรียนที่ดิฉันสอนอยู่ก็ได้นำ   มัลติมีเดีย (Multimedia)  มาใช้ในการสอนบางวิชา ซึ่งทำให้เด็กสนใจในการเรียนมากขึ้นและสนุกสนานกับการเรียน  ทำให้เขาได้เรียนรู้มีความสุขโยไม่ต้องบังคับและจ้ำจี้จ้ำชัยเหมือนเดิมค่ะ

ความหมายและลักษณะสำคัญของ  e-learning
                ความหมายของ e-learning  มีผู้ที่ให้ความหมายหรือคำจำกัดความไว้หลายรูปแบบ แต่จะข้อสรุปคร่าว ๆ ไว้ ดังนี้  e-learning  คือ  เทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาศัยระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตเข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนนั้นมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

วิวัฒนาการของการใช้ e-learning  ในประเทศไทย
                ประเทศไทยนั้นได้มีการนำเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนการสอน  เข้ามาใช้เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยระยะ เริ่มตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในยการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์  จากนั้นก็พัฒนามาเป็น สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI  ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนามาเป็น WBI  หรือการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ  ซึ่งสามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสื่อ CAI  และเทคโนโลยีล่าสุดก็คือ  e-learning  ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในขณะนี้  เพราะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงในการจัดการเรียนการสอน ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเองเกิดความสะดวกและประหยัดเวลาได้มาก สามารถสอนเนื้อหาและติดตามผลการเรียนของผู้เรียนได้อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
               
รูปแบบการพัฒนา e-learning  ที่ใช้ในประเทศไทย
                การพัฒนา  e-learning   ที่ใช้ในประเทศไทย พบว่าหน่วยงานแต่ละหน่วยที่ได้นำเอาเทคโนโลยี  e-learning  ไปใช้  ได้พัฒนาระบบ e-learning  ของตนเองซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป  ควรจะมีการจัดตั้งหน่วยงานที่เข้ามาดูแลและรับผิดชอบโดย  หรือจะพัฒนาบุคลากรให้เป็นผุ้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญก็ได้ แต่ปัญหาก็มีอยู่ว่ายังขาดงบประมาณในการสนับสนุน

การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ e-learning 
                การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ e-learning   ควรจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบโดยตรง และงบประมาณก็ควรมีการสนับสนุนอย่างเต็มที่เพราะ

ปัญหาการพัฒนา e-learning    ในประเทศไทย
                สำหรับปัญหาการพัฒนา  e-learning    ในประเทศไทย อาทิเช่น  ปัญหาการขาดแคลนบุคลกรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี  e-learning   ปัญหาด้านงบประมาณที่ช่วยในการสนับสนุนการจัดทำ  ปัญหาในเรื่องของการขาดความพร้อมในหลายๆ อย่างส่งผลให้  ผลงานที่ได้ยังไม่ได้มาตรฐานเพียงพอและที่สำคัญในเรื่องราคาของซอฟแวร์ยังมีราคาสูงจนเกินไป  ปัญหาต่างๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา e-learning    ในประเทศไทยของเรา ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไขเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในบ้านเราเพื่อทัดเทียมกับนานาประเทศ


Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPressMovable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ
และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
คำถามข้อนี้ คงเป็นคำถามที่คาใจหลายคน โดยเฉพาะมือใหม่ที่เพิ่งจะรู้จักคำว่า Blog บางครั้งมือเก่า ๆ ที่เขียน Blog มาบ้างแล้ว มาได้ยินคำถามนี้ อาจจะหันกลับมาถามตัวเองด้วยก็ได้ว่า อืม ใช่! แล้ว blog มันต่างจากเว็บไซต์ยังไงบ้างล่ะ
ในเบื้องต้น Blog จะแตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่า มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนโบรชัวร์ออนไลน์
สำหรับประเด็นที่ทำให้ Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วไป มีดังนี้ครับ
มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ หรือที่เราเรียกว่า Interactive นั่นเอง
บทความใน Blog จะเขียนในรูปแบบที่เป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนา มากกว่าในเว็บไซต์ เช่น ลองอ่านบทความนี้ดูครับ มันจะเหมือนว่าผมกำลังคุยกับคุณอยู่ ใช่ไหมครับ นี่คือที่เราเรียกว่ามีความเป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนากันอยู่ไงครับ
ระบบที่ใช้เขียน Blog นั้นง่าย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียน Blog ได้
อัพเดทได้บ่อยมาก และยิ่งอัพเดทบ่อย จะยิ่งดีต่อการมาเก็บข้อมูลของ Search Engine นะครับ นั่นจะทำให้ตำแหน่งผลการค้นหาของเราใน Search Engine นั้นสูงตามไปด้วย
Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing)
จุดเริ่มต้นความสำเร็จของการเขียนบล็อก
1. เขียนในสิ่งที่เรารักและชอบ
ถ้าเราเขียนเรื่องที่เราชอบ จะทำให้เราสนุกที่จะค้นหาข้อมูลมาเขียน และเรื่องที่เราชอบนี้ เรามักจะเข้าใจ และรู้แจ้งเห็นจริง ถ้ามีคนมาถาม เราก็สามารถตอบได้อย่างดี ประเด็นของเรื่องที่เราชอบนี้ จะไปจุดให้เราเกิดกำลังใจในการทำข้อสองครับ
2. อัพเดทบล็อกให้บ่อย ๆ
บล็อกที่มีคนเข้าเยอะ ๆ มักจะเป็นบล็อกที่มีการอัพเดทบ่อย ๆ ยิ่งบ่อยมาก คนอ่านยิ่งมากครับ
หลักการง่าย ๆ สองข้อนี้ ถ้าเอาไปทำได้ รับรองว่าไม่เกิน 1 ปี บล็อกของคุณ จะมีคนอ่านเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจเลยล่ะครับ
 สังคมออนไลน์ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มากมายให้เกิดขึ้น ทำให้เรามีโอกาสได้เข้าถึงสาระบันเทิงหลากหลายรูปแบบได้เพียงปลายนิ้ว ในขณะเดียวกันโลกได้ก้าวเข้าสู่สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจฐานความรู้จึงทำให้การแลกเปลี่ยนแบ่งบันความรู้เป็นวัฒนธรรมใหม่ที่มีความสำคัญยิ่งขึ้น และทำให้เว็บไซต์ทั่วโลกซึ่งเปรียบเสมือนห้องสมุดออนไลน์กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเข้าถึงมากที่สุดในปัจจุบันในยุคเริ่มแรกเว็บไซต์เป็นการนำเสนอข้อมูลทิศทางเดียว โดยใครบางคนที่อยู่เบื้องหลังเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นผู้ทำให้มีเนื้อหาที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมให้ใครต่อใครเข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลได้ตามความต้องการ ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อมูลแบบ read only คือ อ่านได้เพียงอย่างเดียว ผู้ใช้เอกสารเว็บไม่สามารถป้อนข้อมูลเข้า (input) เพื่อปรับปรุงสารสนเทศให้มีความทันสมัยและถูกต้องได้เลย ผู้เขียนมักจะเตือนผู้อื่นอยู่เสมอว่าอย่าเชื่อถือเอกสารจากเว็บไซต์ต่างๆ โดยไม่ตรวจสอบเสียก่อน เนื่องจากอาจจะเป็นข้อมูลที่ขาดการบำรุงรักษามาเป็นเวลานานก็เป็นได้การกำเนิดของฟอร์มการรับข้อมูลของภาษา HTML การทำงานแบบโต้ตอบได้ของภาษาสคริปต์และ CGI นำมาซึ่งการป้อนข้อมูลโดยผู้ใช้เว็บ พัฒนาขึ้นเป็นบริการต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนออนไลน์ และปรากฏเป็นนวัตกรรมที่สร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นจากฟรีเว็บไซต์ส่วนบุคคลเพื่อการนำเสนอข้อมูลได้โดยอิสระ เช่น บริการของ Geocities พัฒนามาสู่บริการเว็บล๊อกหรือเรียกสั้นๆ ว่า Blog บริการไดอารี่ออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเมื่อไม่มานี้จนกระทั่งวันนี้โลกได้รู้จักบริการใหม่ที่สอดคล้องกับยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เรียกว่า Wiki ซึ่งเปรียบเสมือนแหล่งรวบรวมความรู้จากบุคคลทั่วโลก ( เป็นการต่อยอดขึ้นจาก Blog อีกทีหนึ่ง ซึ่ง Blog เป็นเพียงแหล่งแสดงความคิดเห็นประสบการณ์เฉพาะบุคคลเท่านั้น ) ทั้งนี้ในปัจจุบันหลายวงการเริ่มยอมรับ Wikipedia.org ว่าเป็นแหล่งความรู้ที่เกิดจากการร่วมกันคิดร่วมกันระดมความรู้จากอาสาสมัครจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อสร้างสารานุกรมเสรีออนไลน์ ( Online Free Encycropedia ) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีเนื้อหาตั้งแต่สิ่งที่เล็กที่สุดในโลกไปจนถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด(ที่มนุษย์โลกรู้จัก) มากกว่าหนึ่งล้านหัวข้อเชื่อมโยงกันด้วยระบบซอฟต์แวร์ที่ชาญฉลาดและเครื่องมือค้นหาที่รวดเร็วที่ช่วยให้การค้นหาเป็นไปได้แทบทุกคำที่คุณอยากรู้Wiki ยังถูกนำไปประยุกต์ในงานอื่นๆ อีกมากมายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมความรู้ คำตอบของปัญหา การประสานงานระหว่างองค์กร และงานที่ต้องการการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน ดังนั้นทุกวันนี้เราจะสังเกตเห็นว่าหลายๆ องค์กรจะมีเว็บไซต์ Wiki เป็นของตนเอง ใช้ทดแทนบริการถามตอบ การบริการลูกค้า FAQ ฐานความรู้ และอื่นๆ อีกมากมายMediaWiki โอเพ่นซอร์ส Wiki เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของสารานุกรมเสรีออนไลน์ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ คือ ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่มีคุณภาพสูงมากตัวหนึ่งที่จะนำมาแนะนำในวันนี้คือ MediaWiki ซึ่งมี                      จุดเริ่มต้นจากความต้องการสร้างเว็บไซต์ Wikipedia นั่นเอง โดยดำเนินการพัฒนาภายใต้ GNU General Public License ซอฟต์แวร์ตัวนี้จึงเกิดจากการร่วมแรงของชาวโลกเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาวโลกจริงๆ นอกจากจะได้ผลเป็นเว็บไซต์ Wikipedia ที่มีประโยชน์ต่อทุกวงการอย่างเอนกอนันต์แล้ว เรายังได้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ที่เป็นชุดโปรแกรม Wiki ชั้นเลิศอีกด้วยแน่นอนครับถ้าเรานำโปรแกรม MediaWiki มาสร้างเว็บไซต์ Wiki เป็นของเราเอง จะทำให้เราได้ Wiki ที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับ Wikipedia.org อย่างไม่ต้องสงสัยเลย


                 
การติดตั้งโปรแกรม เริ่มต้นโดยเตรียมระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่จำเป็นให้พร้อม ผู้เขียนได้ทำการทดสอบกับระบบปฏิบัติการ Fedora Core 5 (Bordeaux) โดยติดตั้งซอฟต์แวร์แพคเกจสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการเว็บเซิร์ฟเวอร์และระบบฐานข้อมูล ได้แก่ Apache 2.2 ,PHP 5.1.2 ,gd-2.0.33 ,mysql-5.0.18 และ ImageMagick-6.2.5 ส่วนตัวโปรแกรม MediaWiki สามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.mediawiki.org เป็นไฟล์ Tarball ขนาดประมาณ 2 MB ( บทความนี้ใช้ไฟล์ mediawiki-1.5.8.tar.gz ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุด )จากนั้นทำการคอนฟิกและเปิดบริการทั้ง Apache และ MySQL ให้พร้อมทำงาน โดยเฉพาะ MySQL จะต้องกำหนดรหัสผ่านของ root ไว้ให้เรียบร้อยเสียก่อนเพราะในขั้นตอนติดตั้งโปรแกรม MediaWiki จะต้องป้อนรหัสผ่านนี้เพื่อสร้างฐานข้อมูลและตารางฐานข้อมูลขึ้น นอกจากนี้โปรแกรม PHP จะต้องกำหนดค่าตัวแปร memory_limit ให้มากกว่าค่าปรกติ (8 MB) ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับ MediaWiki ตามเอกสารแนะนำการติดตั้งแล้วควรมีค่ามากกว่า 20 MB จะเหมาะสมกว่า ค่าตัวแปรนี้สามารถแก้ไขได้ที่ไฟล์ /etc/php.ini หลังจากเตรียมส่วนประกอบพื้นฐานไว้แล้ว ให้แตกไฟล์ mediawiki-1.5.8.tar.gz ไว้ใต้ไดเร็คทอรี่ DocumentRoot ของ Apache ( สำหรับ Fedora Core คือ /var/www/html ) หรือตำแหน่งอื่นๆ ตามที่ต้องการแล้วเชื่อมโยงอีกครั้งด้วย Soft Link หรือ Alias หรือ Virtual Host ก็ได้ ตัวอย่างเช่น แตกไฟล์ไว้ที่ /var/www/html จะเกิดไดเร็คทอรี่ชื่อ mediawiki-1.5.8 แล้วสร้าง link ชื่อ wiki ขึ้น ด้วยคำสั่ง
# ln –s /var/www/html/midiawiki-1.5.8 /var/www/html/wiki
จะได้ผลลัพธ์เป็นตำแหน่ง URL ที่สามารถเรียกได้จากเว็บบราวเซอร์เป็น http://localhost/wiki นั่นเอง ในกรณีที่ท่านต้องการ URL ในลักษณะอื่นๆ อาธิ http://wiki.mydomain.com จะต้องอาศัยเทคนิคอื่นเช่น Name based Virtual Host หรือ URL Rewrite เป็นต้นสิ่งหนึ่งที่จะต้องเตรียมไว้ก่อนเข้าสู่การคอนฟิกโปรแกรม MediaWiki ก็คือ จะต้องแก้ไข Permission ของ Directory ชื่อ config ให้สามารถสร้างไฟล์และแก้ไขข้อมูลไฟล์คอนฟิกที่จะเกิดขึ้นระหว่างการคอนฟิกได้ โดยใช้คำสั่งดังนี้
# chmod a+w /var/www/html/wiki/config
ขั้นตอนต่อไปคือ จะต้องคอนฟิกโปรแกรม MediaWiki ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ โดยเข้าไปที่ http://localhost/wiki/config จะปรากฏหน้าเว็บเพื่อการคอนฟิกโปรแกรม ในขั้นตอนการคอนฟิกโปรแกรม MediaWiki นี้จะมีข้อมูลสำคัญๆ ที่จะต้องป้อนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลำดับจากด้านบนของหน้าจอลงไปจนถึงปุ่มยืนยันด้านล่างสุดของหน้าจอ คือ Site Config เป็นการกำหนดชื่อของ Wiki Site ของเรา อีเมล์ของตัวระบบ (Contact Email) ซึ่งจะใช้ในการติดต่อกับสมาชิก ภาษาที่จะใช้ในหน้าเอกสารของสารานุกรม (มีตัวเลือกภาษาไทย) การประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์การเผยแพร่ (เช่น GNU Free Document License) ชื่อและรหัสผ่านของผู้บำรุงรักษาระบบทั้งหมด ( เรียกว่า SysOp ) ส่วนที่ 2 เป็นการกำหนดค่าที่เกี่ยวกับการสื่อสารด้วยอีเมล์ (Email Notification) และการพิสูจน์สิทธิ์ของสมาชิกอาสาสมัคร ( Authentication ) ซึ่งโดยปรกติแล้วไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงค่า ส่วนที่ 3 จะเป็นการกำหนดค่าที่เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล (Database Config) ซึ่งจะต้องกำหนดค่า MySQL Server ,ชื่อฐานข้อมูล ชื่อยูสเซอร์ที่จะใช้ติดต่อกับฐานข้อมูล ชื่อขึ้นต้นของตารางข้อมูลของ MediaWiki (ใช้ค่าปรกติเป็น mw_ ) และสุดท้ายคือ ชื่อและรหัสผ่านของ root ซึ่งเราได้กำหนดไว้ในตอนต้นแล้วหากได้มีการเตรียมการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว โปรแกรม MediaWiki จะสร้างฐานข้อมูล ตารางข้อมูล และ ไฟล์คอนฟิกของโปรแกรมขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยจะแสดงหน้าจอรายงานความสำเร็จดังรูปที่ 5 ซึ่งให้คำแนะนำสำหรับขั้นตอนต่อไปคือ ให้ย้ายไฟล์ config/LocalSettings.php ไปที่ไดเร็คทอรี่หลักของโปรแกรม


การย้ายไฟล์ดังกล่าวทำได้โดยคำสั่งต่อไปนี้
# cd /var/www/html/wiki/config/
# mv LocalSettings.php ..
หลังจากย้ายไฟล์คอนฟิกแล้วให้รีเฟรชหน้าเว็บเพจนี้อีกครั้งจะปรากฏหน้าแรกของโปรแกรม MediaWiki ของเรา ซึ่งพร้อมให้สมัครสมาชิกใหม่ โดยคลิ๊กล๊อกอินที่มุมบนด้านขวามือ และเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างหัวข้อเอกสารได้ทันที




เริ่มสร้าง Wiki เพื่อให้แน่ใจว่าระบบ Wiki ที่เราสร้างขึ้นนี้สามารถใช้งานได้ ควรเริ่มต้นด้วยการทดลองสร้างหน้าเอกสาร ( article ) ขึ้น โดยล๊อกอินเข้าสู่ระบบด้วยชื่อบัญชี WikiSysop และรหัสผ่านที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการติดตั้งที่ผ่านมา กำหนดหัวข้อที่คิดว่าจะสร้าง article ขึ้น ตัวอย่างเช่น คำว่า Linux แล้วป้อนลงในช่องค้นหาในหน้าแรกโปรแกรมจะแจ้งว่าไม่พบหน้าเอกสารหัวข้อนี้ และจะให้เริ่มสร้างเอกสารหัวข้อนี้ได้ทันที โดยมีข้อความลิ้งค์ว่า You can create this page เมื่อเราคลิ๊กที่ข้อความนี้จะเข้าสู่หน้าจอแก้ไข article นี้ผ่านเว็บบราวเซอร์ได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติมอีกเลย ในการเพิ่มเติมข้อความเหล่านี้เราจะพิมพ์ข้อความได้ตามที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการให้มีรูปแบบที่สวยงามเป็นไปตามมาตรฐานของ Wiki แล้ว จะต้องศึกษาการกำหนดรูปแบบข้อความที่เรียกว่า Wiki Syntax ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ตัวอย่าง Wiki Syntax เบื้องต้นที่ใช้ทดสอบ
รูปแบบ
ความหมาย
==ข้อความ==
หัวข้อระดับที่ 1 (ขนาดใหญ่)
===ข้อความ===
หัวข้อระดับที่ 2 (ขนาดปานกลาง)
====ข้อความ====
หัวข้อระดับที่ 3 (ขนาดเล็ก)
----
ตีเส้นแนวนอน
‘’ ข้อความ ’’
ตัวเอน (ใช้ตัวเครื่องหมาย พิมพ์ติดกัน 2 ตัว)
‘’’ ข้อความ ‘’’
ตัวหนา (ใช้ตัวเครื่องหมาย พิมพ์ติดกัน 3 ตัว)
* ข้อความ
รายการหัวข้อแบบไม่มีลำดับตัวเลข (แสดงเป็นจุดหน้าข้อความ)
# ข้อความ
รายการหัวข้อแบบลำดับตัวเลข ( ตัวเลขจะเรียงกันเองโดยอัตโนมัติ )
[[ภาพ:File.jpg]]
แสดงรูปภาพ

สำหรับการแสดงรูปภาพจะต้องปรับแต่งเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อทำให้สามารถส่งไฟล์รูปภาพเข้าสู่โปรแกรมได้ โดยต้องแก้ไขไฟล์ LocalSettings.php แล้วลบเครื่องหมาย # หน้าข้อความว่า $wgEnableUploads = true ออก และจะต้องเพิ่มสิทธิ์ของไดเร็คทอรี่ images ให้สามารถบันทึกไฟล์ได้อีกด้วย จึงจะสามารถอัพโหลดไฟล์รูปภาพและแสดงรูปภาพในเอกสารได้จะเห็นได้ว่าวิธีการติดตั้ง MediaWiki มีการออกแบบมาเป็นอย่างดี ทำให้ง่ายต่อการใช้งานมาก แต่ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากที่ผู้บริหารระบบจะต้องศึกษาเพื่อการใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ การควบคุมสิทธิ์ของผู้ใช้งาน การเพิ่มเติมและใช้งาน Extension ต่างๆ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานได้จากเว็บไซต์ของ MediaWiki อ้างอิง : ธีรภัทร  มนตรีศาสตร์. mediawiki ผู้อยู่เบื้องหลังสานุกรมระดับโลก.[ออนไลน์] เข้าถึงใด้จาก www.itdestination.com 20 ก.พ.2552 เวลา 10.12 น.
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
          อีเมล์คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูล
ในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง

           อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com
ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ
ดังตัวอย่างนี้

ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้

ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท

ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์

ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย

รหัสบอกประเภทขององค์กร คือ

.com = commercial บริการด้านการค้า


การลงทะเบียนขอ e-mail address


อ้างอิง :[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:www.navy.mi.th 20 ก.พ. 52

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
        อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลาในที่นี้จะกล่าวถึงประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตหลักๆดังนี้
    1.
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งเป็นที่อยู่ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย1ฉบับ แล้วส่งไปยังที่อยู่นั้น ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย
    2.
กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet)
เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
    3.
การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol
หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
    4.
การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น
    5.
การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet)
เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
    6.
การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat)
เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
    7.
การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce)
เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก
    8.
การให้ความบันเทิง(Entertain)
ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น
อ้างอิง: 
สสินน ปานสายลม โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: www.thaigoodview.com 20 ก.พ. 52
ผู้ใช้บริการสามารถลงทะเบียนขอ e-mail address ได้จาก เว็บต์ที่ให้บริการทั้งแบบที่เสียค่าใช้จ่ายและฟรี เว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์ฟรี ได้แก่
.edu = education สถานศึกษา
.org = orgnization องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
.gov = government หน่วยงานรัฐบาล
.net = network หน่วยงานบริการเครือข่าย
ตัวอย่าง e-mail address
E-Book : รูปแบบใหม่ในการอ่านหนังสือ
  
E-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำนี้อาจจะเป็นคำใหม่ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน แต่ อีกไม่นานจะเป็นที่รู้จักในหมู่นักอ่านทั้งหลาย โดยเฉพาะในวงการห้องสมุดซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยน แปลงรูปแบบให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิตัลและห้องสมุดเสมือน เทคโนโลยีนี้ก็คง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาให้บริการกับผู้ใช้ ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรูปแบบของ หนังสือก็ไม่จำเป็นว่าเราต้องโยนหนังสือทิ้งไปแล้วหันมาใช้เทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นแทนที่เพราะเราก็ไม่ ทราบว่าเมื่อไหร่เทคโนโลยีนี้จะเป็นที่นิยมและยอมรับอย่างแพร่หลาย และถึงแม้ว่าหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในวงการหนังสือ แต่หนังสือก็ยังมีคุณค่าต่อมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ดังมีคำยกย่องเกี่ยวกับหนังสือจาก Tony Cawkell ว่าหนังสือจะยังคงมีการจัดพิมพ์อีกหลาย ปี และมีความจริงว่าการได้พบหน้ากันระหว่างหนังสือกับผู้อ่านจะมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มากกว่าการ ใช้เครื่องจักร ซึ่งจะมีคำที่เกี่ยวข้องกัน 2 คำ คือการถ่ายโอนข้อมูล และพฤติกรรมของมนุษย์ หากมอง โดยผ่านๆ จะพบว่าการอ่านหนังสือ การสแกนหัวข้อข่าว การประเมินคุณค่ารูปภาพหรือภาพวาด เป็น การหาความบันเทิงที่มีความสุขจากแผ่นกระดาษ และยังสามารถจะเขียนข้อความอื่น ๆ ลงไปได้อีก สามารถนำติดตัวได้ อ่านบนเครื่องบิน รถไฟ ในห้องน้ำก็ได้ และมองดูสวยเมื่ออยู่บนชั้น ให้เป็นของ ขวัญกับคนที่รักได้

ความหมาย 
ได้มีผู้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไว้หลายความหมาย ได้แก่ 
เป็นคำเฉพาะที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดย เฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เช่น ซีดีรอม และซีดีไอ และเป็น ซอฟต์แวร์ (ในรูปของดิสก์ขนาด 8 ซม.) 
เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหนังสือ อยู่ในรูปแบบดิจิตัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ เป็นหนังสือถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล ไม่บังคับการพิมพ์ และการเข้าเล่ม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษร ทั้งลักษณะภาพ ดิจิตอล ภาพอนิเมชั่น วิดีโอ ภาพเลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่นๆ ที่ประกอบตัว อักษรเหล่านั้น มูลค่าของการจำลองลงบนแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เพียงแค่เป็นเศษส่วน ของการจัดพิมพ์และการห่อหนังสือในขณะที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีฮาร์ดแวร์ในการอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ และขณะนี้มีราคาหลายระดับ ลักษณะของซอฟต์แวร์ที่เพิ่มเป็นแบบไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) สามารถแสดงผลของการค้นหาตัวอักษรได้ เชื่อมต่อกับไฮเปอร์เท็กซ์ มีคำแนะนำที่ สามารถอธิบายศัพท์เป็นระบบออนไลน์ และอาจมีหมายเหตุตรงขอบ เป็นต้น 

  
วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 
ได้มีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาหรือวิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่าความคิดใน เรื่องหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ปรากฏในนิยายทางวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ภายหลังปี ค.ศ. 1940 เป็นหลัก การใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์ คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อนปี 1990 ในช่วงแรก มี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิง และการ ศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับอ้างอิงมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการ พร้อม ๆ กับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics , Novell และผู้ผลิตได้ผลิตคู่มือ Dynatext ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 12 ชื่อ ตามรูปแบบเทคโนโลยีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และในช่วงสิบปีมานี้ก็ได้เห็นความพยายามที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามา จำหน่ายในโลกแห่งความจริง แต่ส่วนมากก็ล้มเหลว แต่ก็มีบ้างที่ยังพอยู่ในตลาด เช่น Book man หรือ Franklin Bookman ซี่งการใช้งานยังคงห่างไกลที่จะเข้ามาเชื่อมโยงในตลาดกระแสแมนสตีมได้ ปัญหา ของอุปกรณ์เหล่านี้ก็คือ จอภาพขนาดเล็กที่สามารถอ่านออกได้ยาก อายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ค่อนข้าง สั้น อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีในการแปลงรหัส (encryption) เพื่อป้องกันข้อมูลของผู้พิมพ์ในเรื่องของ ลิขสิทธิ์ของตัวอักษร อีกทั้งวิธีจัดจำหน่ายและแสดงผลต่างๆ กันก็ยังไม่สะดวกต่อผู้ใช้ อย่างเช่นการใช้ แผ่นซีดีรอมหรือตลับบรรจุแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 
พัฒนาการอันหนึ่งที่ได้เขามามีส่วนช่วยให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดการรุดหน้าเร็วขึ้นจน สามารถบรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบก็คือ แล็บท็อปคอมพิวเตอร์ นั่นก็คือการนำบางส่วน ของแล็บท็อป เช่น สกรีน มาใช้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญก็คือ ในระยะเมื่อไม่กี่ปีมานี้ราคาของ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ลดลงไปมาก จนทำให้การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีคุณภาพสูง นอก จากนี้การบูมของอินเตอร์เน็ตก็ได้เข้ามาทำให้มนุษย์สามารถส่งสิ่งที่เป็นเอกสารหรือหนังสือได้คราวละ มาก ๆ โดยอาศัยอินเทอร์เน็ตและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย และไม่ต้องมีดิสก์เก็ตหรือการ์ดสำหรับการใช้ ในการเก็บข้อมูล เช่น นวนิยาย หรือเอกสารตำรา ในกรณีที่มีผู้เกรงว่าจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการ อาศัยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการรับส่งหนังสือ ตำรา หรือนวนิยายนั้น ก็สามารถป้องกัน ได้ด้วยการใช้รหัส (encryption) เพื่อไม่ให้บรรดาผู้ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ในการแจกจ่ายเนื้อหาในหนังสือนวนิยายหรือตำรา โดยไม่ต้องไปซื้อหามา อนึ่ง หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้อาศัยหลักการที่ว่าจะนำเทคโนโลยีที่มีความบางเบามากๆ มาใช้ เช่น สกรีน โดยจะละ ทิ้งทุกสิ่งในแล็บท็อปที่มีน้ำหนักมาก เช่น โปรเซสเซอร์แบบเฮฟวี่ดิวตี้ งานพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จึงได้มุ่งหนักไปในเรื่องของความบางเบาและการพิมพ์ทุกอย่างลงบนแผ่นพลาสติกหรือสิ่งอื่นใดที่จะนำ มาทำหน้าที่คล้ายกับกระดาษให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันหมายถึงการพิมพ์ตั้งแต่สิ่งที่เป็นวงจรทาง อิเล็กทรอนิกส์จนถึงสิ่งอื่นๆ เช่น หน่วยความจำสำรอง (ภายในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีซีพียู) ลงบน แผ่นบางๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อันเนื่องจากต้องการประหยัดน้ำ หนัก นอกจากนี้ลักษณะที่กล่าวมาของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังมีส่วนที่เรียกว่าเนื้อหาด้วยซึ่งเนื้อหา ในที่นี้ได้มีกล่าวไว้ว่า เนื้อหา (content) เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ประโยชน์บนเครือข่ายมีความสามารถ ในการส่งสัญญาณเสียง การแพร่กระจายของวัสดุ 
   
ลักษณะและรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 
หัวใจของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ "แผ่นจานข้อมูลแสง" หรือ ซีดีรอม แผ่นดิสก์ดังกล่าวจะเก็บ ข้อมูลในรูปแบบเดียวกับแผ่นซีดีที่ใช้บันทึกเพลง คือแต่ละจุดที่บันทึกอยู่บนแผ่นดิสก์จะใช้แทนจำนวน ข้อมูล และจุดเหล่านี้สามารถอ่านค่าด้วยแสงเลเซอร์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดพกพาติดตัวได้เปิด โฉมเมื่อไม่นานนี้ด้วยสนนราคา 300 ปอนด์ ประกอบด้วยตัวเครื่องขนาดกระทัดรัดเหมาะมือ มีคีย์บอร์ด ขนาดเล็กเท่าหน้าปัดนาฬิกา จอมีขนาด 6 ตารางเซ็นติเมตร และมีช่องสำหรับใส่แผ่นดิสก์ 1 ช่อง ความสามารถที่เป็นจุดเด่นของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือความสามารถในการใช้งานข้อมูลที่บรรจุอยู่ใน แผ่นดิสก์แบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ คือสามารถใช้งานในรูปของตัวอักษรและกราฟิก หรือที่เรียกว่าแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ แต่ก็มีจุดอ่อนในตัวเองเหมือนกัน เมื่อมีข้อมูลมากจึงทำให้มีขนาดใหญ่และหนักกว่า หนังสือที่เป็นกระดาษ และเปลืองไฟมาก ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และ ใช้พลังงานน้อย จอมีขนาดเล็กกว่าจอโทรทัศน์ทั่วไปจึงทำให้เกิดอาการเคืองตาและเหนื่อยเป็นอย่างมาก หากต้องอ่านนาน ๆ

ข้อเปรียบเทียบถึงความแตกต่างระหว่างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และหนังสือจริง 
เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบถึงข้อเด่น ข้อด้อยของหนังสือทั้งสองประเภท จึงขอสรุปความแตก ต่างระหว่างทั้งสองประเภท ดังนี้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ของจริง
ต้องการ battery
ไม่ต้องการการ reboot
หยุดได้หากต้องการให้หยุด
การอ่านครั้งสุดท้ายเกือบจะคงอยู่ตลอดไป
สามารถอ่านในความมืดได้
ต้องการแสงไฟในการอ่านเวลากลางคืน
มีคำอธิบายที่สะดวกและสะดวกในการค้นหาคำ
การ browse เนื้อหาทั้งหมดง่ายกว่า
จดจำไว้เมื่อไม่ใช้งาน
ต้องการ bookmark
การแสดงภาพกราฟิกไม่ค่อยสวยงาม
ต้นฉบับมีคุณภาพสูง
ประหยัดเนื้อที่และน้ำหนัก
สามารถพกพาได้สะดวก
มีอิสระในการอ่านเนื้อหา
สะดวกในการให้ยืมหรือขาย
ราคาเริ่มต้นสูง
ไม่ต้องการอุปกรณ์ประกอบ
การอ่านตัวอักษรอาจมีเสียงประกอบ
ต้องการทางเลือก เทปบันทึกเสียง
ประหยัดเนื้อที่และน้ำหนัก
ตัวพิมพ์มักจะมีความคมชัด
บางวันอาจมีชื่อหนังสือหลายพันชื่อ
ปัจจุบันมีจำนวนหลายล้านชื่อเรื่อง
อาจมีเสียงเตือน
ไม่ต้องการเสียงเตือน
สะดวกถึงมือผู้อ่านทันทีที่เมื่อมีการ download
ราคาถูกกว่า แล้วแต่ผู้ผลิตจะกำหนดราคา
ถือเป็นหนังสือฉบับส่วนตัวที่สามารถแก้ไขได้
จับต้องได้และเกิดความอบอุ่นใจในการอ่านมากกว่า
เอื้อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้อ่านทุกคนสามารถอ่านได้
เหมือนการอ่านหนังสือจริง ๆ
เมื่อวางบนชั้นดูสวยงาม และเหมาะจะเป็นของขวัญสำหรับผู้ที่รักการอ่าน


ผลิตภัณฑ์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์


ในช่วงเวลานี้ได้มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่หลายแบบ คือ

Rocket eBook
ของบริษัท Nuvomedia
ติดต่อ
Softbook
ของบริษัท Softbook Press
ติดต่อ
Everybook
ของบริษัท Dan Munyan
ติดต่อ
Millennium E-Reader
ของบริษัท Librius
ติดต่อ



รูปแบบสำหรับในอนาคต
ในขณะที่สถานการณ์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ดูจะไม่ราบรื่นแบบโรยด้วยกลีบกุหลาบสักเท่าไร ปัญหาในทางปฏิบัติบางอย่างก็ยังรอคอยการแก้ไขอยู่ ทั้งขนาดที่ต้องให้พกพาได้โดยสะดวก และยังต้อง ให้อ่านได้ง่ายเท่า ๆ กับหนังสือแบบเก่าที่ทำด้วยกระดาษ นอกจากนี้ก็มีเรื่องของราคาที่ยังแตกต่างกัน อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้น คงจะต้องรอการพัฒนาอีกสักระยะหนึ่งให้ขนาดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ลดลงจนเท่ากับพ็อกเก็ตบุ๊ค รวมทั้งสามารถควบคุมคำสั่งผ่านปากกาควบคุมแบบเดียวกับที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทำได้เสียก่อน สารนิเทศเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันได้ มีความสำคัญในชีวิตของคนเรา ตัวบุคคลจะใช้เป็นแหล่งสร้างความรู้ในสมองของตน ขึ้นกับความต้องการเฉพาะเรื่องและตามความ สนใจบุคคลต่างกันก็ใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่ในโลกต่างกัน การเข้าใกล้ชิดกับเอกสารตีพิมพ์เป็นตัวเล่มก็มี ระดับที่ขยายกว้างอยู่ เช่น หนังสือก็เป็นทรัพยากรทั่วไปที่คนยังใช้กันอยู่ แต่ในปัจจุบันมีความสนในที่จะ ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และเอกสารออนไลน์อื่นๆ เพิ่มขึ้นเพื่อเผยแพร่สารนิเทศและเข้าถึงได้ทั่วโลก ซึ่ง เอกสารสามารถใช้โดยการผ่านสถานีได้ เช่น เครือข่ายและคอมพิวเตอร์แบบ Palmtop ถึงแม้ว่าการใช้ แบบหิ้ว สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ สื่อที่จัดพิมพ์จะมีความสำคัญ มีการใช้ต่อไปเพื่อประโยชน์ และความ สะดวกสบาย ในอนาคตเราต้องการกลยุทธ์ของสื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้สารนิเทศมีการเปลี่ยนแปลงจาก เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งไปสู่ความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนทั่วไปในทุกสาขาอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับหนังสือทั้งหลาย เช่น บรรณารักษ์ ผู้จัดพิมพ์หนังสือ หรืออาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับ สารนิเทศ เป็นต้น ทางบริษัทผู้จัดจำหน่ายก็ได้แต่หวังว่าให้ราคาของฮาร์ดแวร์มีราคาที่ถูกลงเพราะหาก ว่าเป็นอย่างนั้น ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้อ่านจะหันมาสนใจอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แต่ เราก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ในอนาคตตลาดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กำลังถูก ประเมินค่าจะเข้าแทนที่หนังสือตัวเล่มได้หรือไม่และเมื่อไร และจะสามารถเอาชนะใจหนอนหนังสือทั้ง หลายได้หรือไม่นั้น คำตอบนี้คงไม่มีใครตอบได้แน่นอน แต่คิดว่าน่าจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการหรือการคิด ค้นรูปแบบใหม่และการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสะดวกในการอ่านให้มากขึ้น และจะทำอย่างให้นักอ่าน ทั้งหลายเห็นถึงสิ่งที่น่าสนใจในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แต่คิดว่าในฐานะที่เป็นนักอ่านคนหนึ่งก็ คงต้องใช้เวลาในการยอมรับลักษณะของหนังสือที่เคยคุ้นชินมาแต่เกิด และในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์ ที่ต้องสัมผัสกับทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภท คิดว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ที่ อยู่ในแวดวงจะต้องใช้บริการ แต่ว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ไม่สามารถตอบได้ เพราะหากจะให้หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์จะเข้ามาแทนที่หนังสือจริงๆ ก็คงต้องให้นักอ่านทั้งหลายเกิดความรู้สึกเหมือนกับอ่าน หนังสือจริง แต่มีความสะดวกสบายในการอ่านมากกว่า 

บทเรียน Onweb หรือ เว็บช่วยสอน (WBI) คืออะไร ?
          
คือ โปรแกรมไฮเปอร์มีเดียที่ช่วยในการสอน โดยการใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะ และทรัพยากรของอินเทอร์เน็ต (WWW) มาสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกทาง (Khan, 1997) (อ้างใน  ปรัชญนันท์ นิลสุข : 2543)
         การเรียนการสอนผ่านเว็บ (WBI) ความหมายโดยรวม หมายถึง การใช้โปรแกรมสื่อหลายมิติที่อาศัยประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ มาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีลักษณะที่ผู้สอนนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน (สรรรัชต์ ห่อไพศาล : 2544)
             ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บ (WBI) ที่เป็นมิติใหม่ของเครื่องมือ และกระบวนการในการ เรียนการสอน ได้แก่
1.
การเรียนการสอนสามารถเข้าถึงทุกหน่วยงานที่มีอินเทอร์เน็ตติดตั้งอยู่
2.
การเรียนการสอนกระทำได้โดยผู้เข้าเรียนไม่ต้องทิ้งงานประจำเพื่อมาเข้าชั้นเรียน
3.
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน เช่น ค่าที่พัก ค่าเดินทาง
4.
การเรียนการสอนกระทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง
5.
การจัดสอนหรืออบรมมีลักษณะที่ผู้เข้าเรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้เกิดกับผู้เข้าเรียนโดย ตรง
6.
การเรียนรู้เป็นไปตามความก้าวหน้าของผู้รับการเรียนการสอนเอง
7.
สามารถทบทวนบทเรียนและเนื้อหาได้ตลอดเวลา
8.
สามารถซักถาม หรือเสนอแนะ หรือถามคำถามได้ด้วยเครื่องมือบนเว็บ
9.
สามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมได้โดยเครื่องมือสื่อสารในระบบ อินเทอร์เน็ตทั้งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือห้องสนทนา (Chat Room) หรืออื่น ๆ
10.
ไม่มีวิธีการมากนัก
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - assisted Instruction - CAI) 

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์สามารถนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้หลายวิธี ผู้สอนจำเป็นต้อง เข้าใจลักษณะและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถเลือกนำมาใช้ในการเรียนได้อย่างเหมาะสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถแยกประเภทออกได้ดังนี้ 1. โปรแกรมเพื่อการฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practice) เป็นโปรแกรมที่ผู้เรียนจะได้ลองทำแบบฝึกหัดหลังจากได้เรียนเนื้อหาหลักการหรือทฤษฏีไปแล้ว 
2.
 โปรแกรมเพื่อการสอน (Tutorial) เป็นโปรแกรมที่ผู้เรียนจะศึกษาเนื้อหาใหม่โดยตรง จากคอมพิวเตอร์แทนการเรียนจากผู้สอน 
3.
 โปรแกรมจำลองสถานการณ์ (Simulation) เป็นการจำลองสถานการณ์จริงที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แทนการปฏิบัติการในสถานการณ์จริง เช่น โปรแกรมการฝึกหัดบินของนักบิน ฯลฯ 
4.
 เกมทางการศึกษา (Educational Games) เป็นลักษณะเกมที่สอดแทรกเนื้อหาอยู่ภายในกิจกรรมของเกมนั้น ๆ ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนานไปด้วย 
5.
 โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นโปรแกรมที่เสนอปัญหา และข้อมูลเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวในการแก้ปัญหา เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีใหม่ซึ่งต้องอาศัยผู้มีความเข้าใจในการทำงานของ คอมพิวเตอร์ตลอดจนมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน 

ข้อดีของ CAI 1) ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนช้าหรือเร็วได้ ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนรายบุคคลที่ดียิ่ง ดังนั้นผู้เรียนจะใช้เวลาเรียนแตกต่างกัน ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน 2) ไม่จำกัดสถานที่เรียน ผู้เรียนไม่จำเป็นจะต้องมายังสถานศึกษา ผู้เรียนอาจจะเรียนอยู่กับบ้านผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ 3) สามารถเรียนจากสื่อประสม (Multi media) ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนสามารถอ่านข้อความ ดูรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว (animation) วีดิทัศน์ (Video) และฟังเสียงได้ 4) การทราบผลการเรียนทันที คอมพิวเตอร์สามารถแจ้งและบันทึกผลการปฏิบัติได้ทันที ทำให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจของตนเองว่าถูกต้องหรือไม่ อย่างไร 

ข้อจำกัดของ CAI ในการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนนั้น มีข้อจำกัดบางประการ ทำให้เกิดปัญหาในการนำมาใช้ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ 1) ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ เนื่องจากการผลิตซอฟแวร์บทเรียนที่เหมาะสมและมีคุณภาพจำเป็นต้องอาศัยทั้งโปรแกรมเมอร์ นักเทคโนโลยีการศึกษา และนักประเมินผลดังนั้นบทเรียนที่มีอยู่โดยทั่วไปจึงด้อยคุณภาพ ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียนแก่ผู้เรียน 2) ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรม ดังนั้น จึงขาดบุคลากรที่มีความรู้ทั้งการใช้ การผลิตซอฟแวร์ ตลอดจนผู้วางระบบการใช้งานของคอมพิวเตอร์ทำให้ภาพที่ใช้ไม่เหมาะสมกับการเรียนการสอน 3) ครุภัณฑ์มีราคาสูง แม้จะมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ไปอย่างมากจนทำให้ราคาต่ำลงกว่าเมื่อหลายปีที่ผ่านมาแต่ราคาก็ยังคงสูง และค่าบำรุงรักษาค่อนข้างแพง ดังนั้นสถานศึกษาโดยทั่วไปจึงยังคงมีปัญหา 

บทสรุป คอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่มีการพัฒนาและนำมาใช้อย่างมากที่สุด ในช่วงระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในระบบบริหารและช่วยสอนอย่างมากมาย แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ บทเรียนที่มีคุณภาพและบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงยังคงต้องได้รับความเอาใจใส่ และพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในทุกด้าน
     WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web.. WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก GuestBook ตรงที่ WebBoard จะสามารถแยก หัวข้อต่างๆ ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา ในหัวข้อเดียวกันมากกว่า กล่าวได้ว่า WebBoard คือพัฒนาการในรูปแบบใหม่ ของระบบการสนทนาใน BBS (Bulletin Board System) ที่เคยได้รับความนิยม ก่อนที่ระบบเครือข่าย Internet จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น WebBoard ที่พบเห็นกัน มีอยู่หลายรูปแบบ สำหรับโปรแกรม D'Board ที่เปิดให้ใช้บริการนี้ จะเป็น WebBoard ในลักษณะเดียว (รูปแบบคล้าย) กับที่ใช้ใน pantip.com

    ข้อดีของการใช้ Webboard
เป็นช่องทางในการติดต่อ ประกาศข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
ทำให้เกิดสังคม ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างกลุ่มผู้เยี่ยมชม
ผู้พัฒนาโฮมเพจ สามารถใช้เป็นช่องทางในการ ประกาศข่าวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้
ง่ายในการใช้งาน แม้จะเป็นผู้เริ่มต้น เมื่อเทียบกับการใช้ Mailing list หรือ News Group
     ข้อดีของการใช้ D'Board
ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม CGI script
ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม CGI script ใน Server เอง
สามารถนำไปใช้ได้ แม้ว่า Server ของคุณจะไม่อนุญาตให้ติดตั้ง CGI script ได้เอง
สามารถกำหนดรูปแบบ ของหน้าต่างๆ ของ WebBoard ของคุณได้เอง โดยผ่านระบบการจัดการที่เตรียมไว้ให้
สามารถใช้ HTML code แตกหน้าตา หน้าต่างๆของ WebBoard ของคุณได้ (รวมถึง Java และ Javascript ด้วยเช่นกัน)
สามารถลบ และแก้ไข ข้อความ ที่มีผู้มาลงไว้ใน WebBoard ได้
สามารถใช้งานได้ ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นด้วยเวลาไม่ถึง 3 นาที ในการกรอกแบบฟอร์ม สมัครเป็นสมาชิก คุณก็สามารถ นำ WebBoard ของคุณไปใช้งาน ในโฮมเพจหรือเวปไซต์ ของคุณได้ทันที



การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนี้การติดต่อสื่อสารถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในองค์ประกอบที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและในการติดต่อทางธุรกิจสิ่งหนึ่งที่จะขาดไปเสียมิได้คือ การประชุม แต่การประชุมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราต้องเสียเวลาและพลาดโอกาสต่างๆ ที่สำคัญ เนื่องจากต้องมีการเดินทางจากที่ต่างๆ เพื่อมาประชุมกัน ณ สถานที่ที่กำหนดที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งในการเดินทางนั้นจะต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่ายและยังเกิดความเสี่ยงในการเดินทางขึ้นอีกด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นในการนำอุปกรณ์สื่อสารเข้ามาใช้ประโยชน์

Video Conference System เป็น การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่กันได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลในเวลาเดียวกัน


ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Video Conference System

ในการนำระบบ Video Conference เข้ามาใช้ในธุรกิจนั้นช่วยให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทางตรง คือ สามารถวัดผลที่ได้ออกมาในรูปของตัวเงิน คือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนในทางอ้อมนั้นวัดเป็นรูปตัวเงินได้ยาก เช่น ช่วยให้ประหยัดเวลา ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังสามารถสรุปประโยชน์ที่ได้เป็นดังนี้
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาประชุม, อบรม
สามารถทำการประชุมเพื่อวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรมากขึ้น
ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทาง


มาตรฐานสำหรับระบบ Video Conference System

เพื่อให้ระบบวีดีโอคอนร์เฟอร์เรนซ์ มีมาตรฐานและสามารถทำงานร่วมกันได้ ITU-T ซึ่งเป็นองค์การด้านโทรคมนาคมสากล ได้กำหนดมาตรฐานระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Videoconferancing System) เพื่อนำไปใช้ในเครือข่ายข้อมูลแบบต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 หมวดหลัก ๆ ได้แก่

H.320 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่าย WAN มีความเหมาะสมในการใช้เชิงธุรกิจ รองรับเครือข่ายได้หลายประเภท เช่น ISDN (Intergrated Service Digital Network) Leased Line รวมทั้งวงจรเช่าอื่น ๆ (satellite,microwave) มาตรฐาน H.320 นี้เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป เนื่องจากให้คุณภาพในระดับที่ดีง่ายต่อการติดต่อ อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็ไม่สูง โดยเฉพาะเมื่อใช้กับเครือข่าย ISDN
H.321 และ H.310 เป็นมาตรฐานที่รองรับระบบเครือข่าย ATM เพื่อให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงในระดับสูงสุด โดยทั่วไปจะใช้ในอาคารหรือใน Campus เดียวกัน
H.323 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่าย LAN หรือ WAN ที่ส่งข้อมูลโดยใช้ IP Protocol เป็นหลักมีคุณภาพในระดับเดียวกับ H.320 มาตรฐานนี้มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
H.324 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์ (POTS : Plain Old Telephone System) มีคุณภาพ ค่อนข้างต่ำ ไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ

ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการกล่าวถึงมาตรฐานทางด้านทางด้านเครือข่าย ในระบบ VideoConferance ยังประกอบด้วยมาตรฐานทางด้านภาพ (Video) และเสียง (Audio) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


มาตรฐานด้านภาพ

การบีบอัดข้อมูลภาพ ประกอบด้วย 2 มาตรฐานหลัก ได้แก่ H.261 และ H.263 (H.263+ หรือ H.263 V2) H.263 เป็นมาตรฐานที่ออกมาภายหลังเพื่อปรับปรุงให้สามารถบีบอัดสัญญาณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ใช้ Bandwidth น้อยลง
ขนาดของภาพ โดยทั่วไปในระบบ Videconferance จะมีวิธีการสร้างภาพอยู่ 2 วิธี คือ FCIF หรือ CIF และ QCF ซึ่งขนาดของภาพที่ปรากฎบนจอภาพจะมีขนาดเท่ากัน แต่จะมีความละเอียดแตกต่างกัน โดยภาพแบบ FCIF จะมีความละเอียดกว่า เพราะมีจุดที่ประกอบเป็นรูปภาพ 352288 จุด ในขณะที่ภาพแบบ QIF จะมีจุดที่ประกอบเป็นรูปภาพเสียง 176144 จุด (ขนาดของภาพเมื่อเปรียบเทียบจากปริมาณของจุดจะเท่ากับ 1/4 ของ FCIF)
นอกจากนี้ ล่าสุดทางบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ Videoconferance ได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ทำให้ระบบ Videconferanceสามารถรองรับความละเอียดทางด้านภาพได้สูงสุดในระดับ XGA (1024768) ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดและคมชัดมากกว่ามาตรฐานทั่วไป
ความเร็วในการสร้างภาพ (Frame Rate) คือจำนวนภาพที่ปรากฏบนหน้าจอใน 1 วินาที ซึ่งหากมีจำนวนภาพ ยิ่งมาก ก็จะทำให้คุณภาพของภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฎเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่กระตุกในระบบ Videoconfrance จะใช้อยู่ 2 ระดับ คือ 15 ภาพต่อวินาที (15 frame/sec หรือ fps) และ 30 ภาพต่อวินาที (30 frame/sec) โดยภาพที่มี frame rate สูง ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ Bandwidth สูงตามไปด้วย ซึ่งที่ 30 fps จะใช้ Bandwdith อย่างต่ำ 384 Kbps อย่างไรก็ตามด้วยความเทคโนโลยี่ของทางบริษัทผู้ผลิตบางรายซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัย และพัฒนาจนสามารถส่งภาพที่ความเร็ว 30 fps โดยใช้ Bandwidth เพียง 256 Kbps ได้
และอื่นๆ...

ระบบเพื่อการกระจายบทเรียนตามความต้องการของผู้เรียน
นฤดล ดามพ์สุกรี
            จากที่คุณศยามนได้กล่าวถึงการส่งบทเรียนไปให้กับผู้เรียนโดยใช้ช่องทางการสื่อสารแบบต่าง ๆ นั้น ในส่วนของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งคิดกันไว้ในช่วงแรกคือ 1. เราจะปรับสื่อที่เรามีอยู่และที่กำลังจะผลิตขึ้น เพื่อให้กระบวนการส่งถึงผู้เรียนมีประสิทธิภาพ เช่น เราจะเลือกใช้ไฟล์เสียง และวีดิโอ ที่มีขนาดเล็ก มีความคมชัด ชนิดของไฟล์ได้มาตรฐาน และสามารถส่งไปเล่นที่อุปกรณ์ของนักศึกษาให้ได้มากที่สุด เช่น บนโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นMP3 , MPEG4 หรือ ซอฟแวร์ประเภท Podcast Reader บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อตกลงเรื่องชนิดของไฟล์ได้แล้ว เราจะจัดทำระบบจัดเก็บสื่อ การใส่ข้อมูลของสื่อแต่ละชิ้น เพื่อให้ง่ายเมื่อค้นหา และเตรียมพร้อมสำหรับการเชื่อมไปยังอินเตอร์เฟส บนเว็บที่จะจัดทำขึ้นในลักษณะของ Podcating 2. สื่อที่เราให้บริการจะต้องมีฟังก์ชั่นของการ Streamingเพื่อให้นักศึกษาเปิดชมได้ออนไลน์ ในลักษณะการ Preview

รูปที่ 1 กระบวนการปรับปรุงการผลิตเพื่อรองรับ U-Learning
                 นอกจากนั้น สื่อนักศึกษาจะสามารถเลือกช่อง (Channel) ได้ตรงตามความต้องการของตนเองเพื่อชม และเลือกเก็บสื่อเฉพาะที่ตนเองสนใจ ลงอุปกรณ์ที่ตนเองมี ไม่ว่าจะเป็น iTune , Windows Media Player ในกรณีเก็บในเครื่องที่หอพัก แต่ที่เราเน้นจะเป็นอุปกรณ์ (Device) ที่เคลื่อนที่ไปกับตัวนักศึกษาได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นMP3,MP4  ดังนั้นระบบที่เราสร้างขึ้นจะต้องให้บริการสื่อได้ตรงตามความต้องการของนักศึกษา เปรียบเหมือนกับการมีรสชาดอาหารต่าง ๆ ให้นักศึกษาเลือกเหมือนบุฟเฟต์โออิชิเลยทีเดียว ฮา..    ขั้นตอนนี้เราสามารถใช้เทคนิคPodcasting มาประยุกต์ใช้ได้ ตามความหมายของ Podcast.com แล้ว Pod  มาจากการที่ไฟล์มัลติมีเดียมีความเป็นPortable และ On-Demand  คือเคลื่อนที่ไปกับผู้เรียนได้ และตรงตามความต้องการของผู้เรียน ส่วน CAST การที่ไฟล์นั้นถูกส่งไปให้ผู้เรียนผ่านทางเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต หรือการออกอากาศแบบอื่น
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/wp-content/uploads/2008/11/whatpodcast.jpg
ที่มา: http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/168/
               3. จากขั้นตอนที่ 2 นักศึกษาจะเป็นผู้กำหนดรสชาดที่ชอบด้วยตนเอง ขั้นตอนนี้จะเป็นการ Delivery ส่งถึงมือประมาณพิซซ่าฮัท ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณากันหลายประเด็น เพื่อที่จะให้นักศึกษาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ให้น้อยที่สุด จะได้ไม่ไปกระทบสตางค์ในกระเป๋าของน้อง ๆ เราต้องศึกษาว่านักศึกษาใช้อุปกรณ์อะไรอยู่ แล้วเราจะนำสื่อของเราไปเล่นบนอุปกรณ์นั้นอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร  เราจะต้องปรับการผลิตสื่อที่แสดงบนหน้าจอขนาดเล็กอย่างไร ช่องทางในการ Delivery ที่คิดไว้ก็มีหลายช่องทางเช่น Kiosk, PodReader,             
Video on Demand 
คือ ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์
หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการตามสโลแกนว่า
To view "What one wants. when one wants."
โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร (Telecommunications Networks)
ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย(VideoClient)สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหว
ได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้น ๆ โดยสามารถย้อนกลับ (Rewind)
หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) หรือหยุดชั่วคราวได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเอง
ทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกันกล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน
หรือต่างกันก็ได้

การใช้งาน Video on Demand จะให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้มากกว่าระบบ Video Broadcast 
(
เช่น ระบบโทรทัศน์ทั่วไปซึ่งเป็นการส่งสัญญาณวิดีโอออกมาเป็นชุดเดียว
(1 Stream)
สำหรับผู้ใช้ทุกคน ผู้ใช้แต่ละคนจะได้ดูภาพสัญญาณอันเดียวกัน
รายการต่าง ๆ จะมีตามเวลาที่กำหนดไว้ ผู้ใช้ต้องรอเวลาเพื่อที่จะได้ดูรายการที่ตนเองต้องการ)
 
กรณี Video on Demand ผู้ใช้แต่ละคนจะสามารถเลือกดูรายการที่ตนเองสนใจเวลาใดก็ได้ 
ไม่ขึ้นอยู่กับผู้อื่นและไม่ต้องรอตารางเวลาแต่ก็จะต้องใช้ความเร็วของเครือข่ายสื่อสารมากตามไปด้วย
เนื่องจากจะต้องมีการส่งสัญญาณวิดีโอ 1 stream สำหรับผู้ใช้ 1 คน ระบบ Video on Demand นี้
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในแง่ให้ความบันเทิงและให้ความรู้ ตามแต่เนื้อหาของวิดีโอ
ที่เราจะบรรจุลงไป


ส่วนประกอบหลักของ Video on Demand 
     
ส่วนประกอบหลักและการทำงานของแต่ละส่วนในระบบ Video on Demand 
     
มีดังต่อไปนี้

       - 
เครื่อง Video Server 
     
ระบบ VOD จะทำการเก็บข้อมูลภาพเคลื่อนไหวเป็นแบบดิจิตัลบนเครื่อง video server 
และเครื่อง server นั้นจะส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหวไปให้เครื่องลูกข่าย (Video Client) ตามที่ขอมา
โดยคุณสมบัติของ video server ก็คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของภาพต่อเนื่องจะต้องมากพอเพื่อที่จะสามารถ
ถ่ายทอดข้อมูลภาพและเสียงอย่างครบสมบูรณ์ให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องสำหรับผู้ใช้ซึ่งอยู่ที่เครื่องลูกข่าย 
และมีระบบอินพุต/เอาต์พุตที่มีประสิทธิภาพ 

     
เครื่อง video server จะต้องมีระบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งใช้เก็บข้อมูลภาพยนตร์
หรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆที่มีความเร็วมากพอที่จะทำการอ่านข้อมูล
และส่งออกไปยังระบบเครือข่ายเพื่อส่งไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ต่อไปตามปกติแล้วข้อมูลวิดีโอมักจะมีขนาดใหญ่ 
และต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลมาก (1.5 Mbps สำหรับคุณภาพ MPEF-1 หรือระดับ Video VHS 
และ 6-8 MBPS สำหรับคุณภาพ MPEG-2 หรือระดับเลเซอร์ดิสก์) ดังนั้นเครื่อง Video Server
จึงต้องมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับและแจกจ่ายข้อมูลวิดีโอเหล่านี้ไปยังลูกข่ายหรือไคลแอนต์ได้

     
เครื่อง Video Server จะมีที่เก็บข้อมูลเรียกว่า disk array ที่มีความจุและความเร็วสูง ทำหน้าที่
เป็นหน่วยเก็บภาพเคลื่อนไหว (Video)ซึ่งจะทำการจัดเก็บวิดีโอในตัวของมันในรูปแบบของบิตข้อมูลดิจิตัล 
ข้อมูลที่เก็บอยู่จะผ่านการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) โดยเครื่องเข้ารหัส (Encoder)
ในรูปแบบมาตรฐานของMPEG (Moving Picture Experts Group) 
ซึ่งเป็นมาตรฐานที่พัฒนาเพื่อใช้กับการแพร่ภาพโทรทัศน์ในระบบดิจิตัล

ระบบ VODจะต้องมีส่วนเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่สามารถส่งข้อมูล
ออกทางเครือข่ายสื่อสารด้วยความเร็วมากพอ โดยข้อมูลที่ถูกบีบอัด
ดังกล่าวจะถูกส่งผ่านเครือข่ายในลักษณะ real-time ไปยังเครื่องลูกข่าย
ที่เป็น Video Client และเนื่องจากข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจำนวนมาก
จะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ลูกข่ายตามที่ผู้ใช้ที่ปลายทางเรียกขึ้นมา
ดังนั้นระบบเครือข่ายสื่อสารที่จะมารองรับการใช้งานระบบ VOD
จะต้องมีความเร็วและประสิทธิภาพสูงพอที่จะสามารถรองรับข้อมูล
มัลติมีเดียจำนวนมหาศาลนี้ได้ เช่น

     - ATM (Asynchronous Transfer Mode)
      - FDDI (Fiber Distributed Data Interface)
      - DQDB (Distributed Queue Dual Bus)     
 
      - 100-Mbps Ethernet (IEEE 802.12)
 
ในบรรดาเครือข่ายทั้งหมดนี้ ระบบเครือข่าย
ATM (Asynchronous Transfer Mode)
เป็นเครือข่ายที่มาแรงที่สุด 
และเป็นที่นิยมที่สุดในการใช้กับระบบ VOD เนื่องจาก ATM
เป็นเครือข่ายซึ่งได้พัฒนามาเพื่อการส่งข้อมูลทุกรูปแบบที่ความเร็วสูง
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล เสียง data หรือ video และมีการประกันคุณภาพการส่ง
(Quality of Service)
ด้วย

     
เครื่องลูกข่าย (Video Client)
      Video Client
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อเล็กทรอนิกส์
ที่สามารถแปลงข้อมูลที่ได้รับจาก Video Server ให้เป็นสัญญาณภาพ
และแสดงผลขึ้นบนจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรทัศน์ที่เป็น
End User Equipment
ได้


โครงสร้างโดยรวม (Architecture) ของระบบ Video on Demand 
จะประกอบด้วย video server และ local database ซึ่งจะต่อถึงผู้ใช้งานโดย
ผ่านเครื่อข่ายสื่อสาร ทางด้านเครื่อง video client ของผู้ใช้งาน
จะต้องประกอบด้วยส่วน interface ตลอดจนส่วน decoder ข้อมูลที่ส่งมา
จากเครื่อง server และจะสามารถดูข้อมูลภาพเคลื่อนไหวผ่านจอ
(
อาจเป็นจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรทัศน์ก็ได้)
และรับสัญญาณเสียงออกทางลำโพง (speaker) 
ส่วนประกอบทางด้านผู้ใช้งาน แสดงดังรูปที่ 3 ส่วน network interface
ทำหน้าที่ถอดรหัสสัญญาณที่เข้ามาและส่งต่อไปยังอุปกรณ์เอาต์พุต
(
จอและลำโพง) ที่ได้เลือกใช้บริการจากระบบ VOD และยังทำหน้าที่
แปลข้อมูลการเลือกของผู้ใช้ (ซึ่งผู้ใช้อาจเลือกผ่านรีโมตคอนโทรล
คีย์บอร์ด หรือเมาส์)
เป็นสัญญาณที่ใช้สำหรับส่งต่อไปในเครือข่ายอีกด้วย

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการสั่งงานของผู้ใช้นั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะบริการ
ของระบบ VOD ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้บริการ Movies on Demand
ก็ควรจะเลือกภาพยนตร์และควบคุมฟังก์ชั่นโดยใช้รีโมตคอนโทรล
แต่ถ้าใช้บริการในลักษณะ Distance Learning การใช้คีย์บอร์ดดูจะ
เหมาะสมกว่า เป็นต้น


การให้บริการของระบบ Video on Demand
 (Interactive Services)


ระบบ VOD จะต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
     1. 
ความสามารถในการให้บริการ video สำหรับผู้ใช้
       
บริการแต่ละคนได้ตามความต้องการของผู้ใช้
       
ทั้งนี้การให้บริการจะเป็นลักษณะ one-to-one 
       
ไม่ใช่ simulcast หรือ broadcast

     2. 
ผู้ใช้งานสามารถควบคุมภาพได้ในลักษณะเดียว
       
กับเครื่องเล่นวิดีโอที่ใช้ตามบ้าน กล่าวคือผู้ใช้
       
ต้องสามารถหยุดชั่วคราว (Pause) กรอกลับ (Rewind)
         
หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) ได้ตามต้องการ

     3. 
มีความเร็วการส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมกับเสียง
       
อย่างน้อย 1.5 Mbps สำหรับคุณภาพ MPEG-1 หรือ 
       
ระดับ (Video VHS) และ 6-8 Mbps สำหรับคุณภาพ
        MPEG-2 (
หรือระดับ Laser Disc) สำหรับผลรวมของ
       
อัตราการส่งข้อมูลภาพ เสียง และข้อมูลที่ใช้ควบคุม

     4. 
ระบบจะต้องถูกออกแบบให้มีมาตรการรักษา
       
ความปลอดภัยที่ดีเพียงพอ เนื่องจากอาจมีข้อมูล
       
ที่สำคัญเก็บอยู่ในระบบ เช่น ตัวเลขที่เป็นความลับ
       
ของบริษัท เป็นต้น

         
จากความสามารถของระบบข้างต้น
       
ทำให้ระบบ VOD สามารถนำไปใช้ให้บริการได้มากมาย


บทสรุป

     
ระบบ Video on Demand 
     
เป็นระบบที่ประกอบด้วย Video Server, เครือข่ายสื่อสาร
   
และ Video Client  Video Server
   
มักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง
   
มีที่เก็บข้อมูลที่มีความจุและความเร็วสูงเพื่อที่จะเก็บข้อมูลวิดีโอ
   
มีส่วนเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่สามารถส่งข้อมูลออกทางเครือข่าย
   
สื่อสารด้วยความเร็วมากพอ


     VOD
เป็นเทคโนโลยีที่ยังอยู่ในช่วงพัฒนาเพื่อให้ได้ระบบหรือ
   
มาตรฐานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป และเนื่องจาก Video on Demand
     
ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ
    Video on Demand
นั้นจึงยังมีไม่มากนัก และมีราคาแพงอยู่ 
   
และยังมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังตัวอย่างเช่น 
   
อุปกรณ์ที่ใช้การเข้ารหัส (encode) และถอดรหัส (decode)
     
ซึ่งแต่เดิมเป็นมาตรฐาน MPEG-1 ปัจจุบันได้พัฒนาถึงมาตรฐาน
    MPEG-2
แล้วซึ่งจะให้คุณภาพของภาพเคลื่อนไหวดีขึ้นมาก
 
 
   
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี VOD มีแนวโน้มที่จะเป็นที่แพร่หลาย
   
ในอนาคต เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ทั้งในด้านสาระ
   
และความบันเทิง สามารถใช้งานได้ง่ายทางด้านผู้ใช้เทคโนโลยี
   
ต่างก็เฝ้าคอยที่จะเห็นเทคโนโลยีนี้พัฒนาขึ้นจนเป็นที่รู้จักและใช้
   
งานกันทั่วไป อันจะมีประโยชน์ต่อสถาบัน
   
องค์กรธุรกิจไปจนถึงในครัวเรือนต่าง ๆ
   
ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้
 
 หลักสูตรท้องถิ่น  
 เนื้อหาที่จะนำมานำเสนอ ณ ที่นมาจากเอกสารคู่มือการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สำหรับจัดการเรียนการสอนการศึกษา
นอกโรงเรียน โดยกองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน กรมการศึกษานอกโรงเรียน
ในการนี้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเหนือคลอง ได้ถูกกำหนดให้เป็นอำเภอนำร่องในการดำเนินการใน
ภาคใต้อำเภอหนึ่งในหลายอำเภอจึงใคร่ขอนำเสนอประสบการณ์ส่วนนั้นมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นการขยายแนวคิดในการ
ที่เพื่อน ศบอ.อื่นๆจะต้องปฏิบัติต่อไปในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันโครงการชุมชนเข้มแข็ง และการเรียนรู้ที่ยึด
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามแนวนโยบายของทางราชการต่อไป เนื้อหาต่างๆจะประกอบด้วย